2558-05-06

ประโยชน์และสมบัติของคาร์โบไฮเดรต
1. สมบัติและการทดสอบคาร์โบไฮเดรต
    1.1 สมบัติของคาร์โบไฮเดรต
         1.1.1 มีรสหวานเป็นส่วนใหญ่  ยกเว้นพอลิแซกคาไรด์
         1.1.2 การละลายน้ำ ละลายในน้ำร้อนและน้ำเย็นได้ง่าย  ยกเว้นพอลิแซกคาไรด์ ไม่ละลายน้ำและการละลายน้ำจะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิ
         1.1.3 กสนเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกความร้อน  น้ำตาลเมื่อถูกความร้อนสูงจะหลอมตัวและไหม้
         1.1.4 เกิดปฏิกิริยาไฮโรไลซิส
         1.1.5 เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เช่น กลูโคสทำปฏิกิริยากับ Cu2+ ภายใต้ภาวะความร้อนและสารละลายเป็นเบสจะได้กรดกลูโคนิก
         1.1.6 เกิดปฏิกิริยารีดักชัน เช่น การถูกรีดิวซ์ของกลูโคสได้เป็นแอลกอฮอล์ที่เรียกว่า ซอร์บิทอล
    1.2 การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
         1.2.1. มอนอแซกคาไรด์
              สารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอนิล (-CO)  และหมู่ไฮดรกซิล (-OH) ในโมเลกุลเดียวกันในด่างเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นหมู่ (-CHO) ดังนี้


               เมื่อทดสอบมอนอแซกคาไรด์ด้วยสารละลายเบเนดิกต์
              สารละลายเบเนดิกต์ (Benedict solution) เป็นสารละลายผสมระหว่าง CuSO4, Na2CO3 และโซเดียมซิเตรด เป็น Cu2+/OH- มีสีน้ำเงิน   สารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) ต้มกับสารละลายเบเนดิกต์ (Cu2+/OH-) จะเกิดเกลือของกรดอินทรีย์ และเกิดตะกอนสีแดงอิฐเกิดขึ้น

            1.2.2 ไดแซกคาไรด์
                   เมื่อทดสอบมอนอแซกคาไรด์ด้วยสารละลายเบเนดิกต์จะไม่เกิดปฏิกิริยา ต้องทำการไฮโดรไลซ์         ไดแซกคารไรด์ด้วยกรดให้เป็นมอโนแซกคาไรด์ แล้วนำมาทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ จะเกิด                   ตะกอนสีแดงอิฐ ดังสมการ

          1.2.3 พอลิแซกคาไรด์
                  พอลิแซกคาไรด์เป็นสารโมเลกุลใหญ่ ทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนจะเกิดสารเชิงซ้อน
สีน้ำเงินแกมดำ

                             แป้ง + I2 -------------------->สารเชิงซ้อนสีน้ำเงินที่เป็นตะกอน

2. ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต
   2.1 ช่วยให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวเพื่อทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ (คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี่)
   2.2 คาร์โบไฮเดรตจัดเป็นส่วนประกอบของสารที่ทำหน้าที่สำคัญในร่างกายหลายชนิด เช่น สารจำพวกไกลโคโปตีน (glycoprotein), ไกลโคไลปิด (glycolipid), กรดนิวคลิอิค (nucleic acid) เป็นต้น
    2.3 คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งงานที่เรียกว่าโพลีแซ็กคาไรด์สะสม (Storage polysaccharide) เช่น ไกลโคเจนและแป้ง ซึ่งเป็นเสมือนแหล่งเสบียงที่เก็บตุนพลังงานไว้ เมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงานก็จะถูกย่อยให้เป็นกลูโคสเพื่อใช้เผาผลาญให้ได้พลังงานต่อไป
 2.4 คาร์โบไฮเดรตมีความจำเป็นต่อการช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ หากร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอร่างกายจะเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานมากขึ้น ทำให้เกิดสารประเภทคีโทนมาคั่ง               (ketone bodies) ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
   2.5 คาร์โบไฮเดรตจะช่วยสงวนคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญเป็นพลังงาน หากได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ
   2.6 คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้จากการเปลี่ยนไปเป็นพลังงานและสร้างไกลโคเจน ร่างกายจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ไขมันและกรดอะมิโน
   2.7 การทำงานของสมองจะต้องพึ่งกลูโคส (glucose) ซึ่งเป็นตัวให้พลังงานที่สำคัญ
   2.8 กรดกลูคูโรนิก (glucuronic acid) (อนุพันธ์ของกลูโคส) มีหน้าที่เปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อผ่านไปที่ตับ ทำให้มีพิษลดลงและอยู่ในสภาพที่ร่างกายจะสามารถขับถ่ายออกมาได้
   2.9 ช่วยทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของผนังเซลล์ในแบคทีเรีย เซลล์พืชและสัตว์ เช่น ไคตินในกระดองปู วุ้นในสาหร่ายทะเล และยังทำหน้าที่ทางชีวภาพอื่นๆ เช่น เฮปาริน จะช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น

   2.10 อาหารจำพวกธัญพืชนอกจากจะมีคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังเป็นแหล่งที่ให้โปรตีน เกลือแร่ และวิตามินอีกด้วย

2556-05-07

หลักสูตรพื้นฐานใหม่ 6 กลุ่มสาระ


รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฐานะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่มี ศ.ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า มีแนวโน้มที่จะยกเลิกหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่มี 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาเป็นหลักสูตรใหม่โดยเหลือ 6 กลุ่มสาระได้แก่
1. ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture)
2. กลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM)
3. การดำรงชีวิตและโลกของงาน (Work Life)
4. ทักษะสื่อและการสื่อสาร (Media Skill and Communication)
5. สังคมและมนุษยศาสตร์ (Society and Humanity) และ
6. อาเซียน ภูมิภาคและโลก (Asean Region and World)
ซึ่งหลักสูตรใหม่นอกจากจะลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว จะมีการลดชั่วโมงเรียนลงด้วย แต่จะเพิ่มโครงงาน หรือการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนแทน เพื่อให้เด็กได้ฝึกการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ 
"หลักสูตรใหม่ดังกล่าว มีความครอบคลุมสาระวิชาที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งคณะกรรมการได้ศึกษาตัวอย่างโครงสร้างหลักสูตรของต่างประเทศไม่น้อยกว่า 12 ประเทศ มาประกอบกับเนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ซึ่งพบว่าหลักสูตรของเรายังมีจุดอ่อนอยู่มาก เช่น เราให้เด็กเรียนถึง 8 กลุ่มสาระ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ เรียนเพียง 3-4 กลุ่มสาระแล้วค่อย ๆ เติมเนื้อหาสาระที่จำเป็นเข้าไป ซึ่งหลังจากนี้คณะทำงานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ใหม่ทั้ง 6 กลุ่มจะไปวางแนวทางและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละระดับ โดยคาดว่าในอีก 6 เดือนพิมพ์เขียวจะแล้วเสร็จ จากนั้นจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำไปประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นต่อไป" รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

อะตอม


"อะตอม" เป็นคำซึ่งมาจากภาษากรีกแปลว่าสิ่งที่เล็กที่สุด ซึ่งนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่ชื่อ ลูซิพปุส (Leucippus) และดิโมคริตุส (Democritus) ใช้สำหรับเรียกหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร ที่ไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก 
แบบจำลองอะตอม (Atomic model)  เป็นภาพทางความคิดที่แสดงให้เห็น รายละเอียดของโครงสร้างอะตอมที่สอดคล้อง กับผลการทดลองและใช้อธิบายปรากฎการณ์ ของอะตอมได้

2555-05-20

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ

             ตารางธาตุ  (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย เดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev)  ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่า เมื่อนำธาตุที่รู้จักมาวางเรียงตามลำดับเลขอะตอม จะพบว่าคุณสมบัติพื้นฐานบางอย่างคล้ายกัน สามารถจำแนกเป็นกลุ่มๆ ได้ ทำให้เกิดรูปแบบตารางธาตุ และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นอย่างที่เห็น ตารางธาตุเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วย

ประวัติโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ

              ในปี พ.ศ.2519 สมัยรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี  นายธงชัย ยงสุนทร สมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี ได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเจ้าอาวาสวัดปราสาทสิทธิ์ คือท่านพระครูประสาทรัตนกิจ เพื่อขอสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้น ณ ตำบลประสาทสิทธิ์ ท่านเจ้าอาวาสจึงได้มอบที่ดินของวัด จำนวน 43 ไร่เศษ เพื่อใช้ก่อสร้างโรงเรียน
หลังจากนั้น นายประสงค์ มีแสงแก้ว นายอำเภอดำเนินสะดวก ได้นิมนต์พระครูประสาทรัตนกิจ และเชิญคณะกรรมการดำเนินงานมาประชุมเพื่อก่อสร้างอาคารเรียน
ให้เสร็จทันปีการศึกษา 2519  โดยมีกำนันขนาน ศิริกุลโยธิน เป็นประธานสภาตำบลประสาทสิทธิ์ในขณะนั้น ที่ประชุมสภาตำบลประสาทสิทธิ์ ได้มีมติอนุมัติงบประมาณจำนวน 300,000 บาท  เพื่อสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้ยกพื้นสูงชั้นเดียวจำนวน 1 หลัง

             

อ่านเพิ่มเติม  (ประวัติโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ)

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ          นางสาวเพ็ญนภา  แก้วตา
ชื่อเล่น    OLE
ทำงาน    โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ
ตำแหน่ง  ครูผู้ช่วย
e-mail       kpennapa14@gmail.com